เหตุการณ์ยิงกราดที่โคราชเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสร้างความสะเทือนใจให้กับประเทศไทยและทั่วโลกเป็นอย่างมาก 

ในฐานะที่ผู้เขียนเกิดและเติบโตที่โคราช จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าเหตุการณ์ร้ายแรงเช่นนี้จะเกิดขึ้นใจจังหวัดที่เรียบง่ายและเงียบสงบ

เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต รวมคนร้ายทั้งหมด 30 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ผู้เขียนคิดว่า เราคงใช้เวลาในการเยียวยารักษาบาดแผลทั้งทางกายและทางใจของคนในชุมชนและทั่วประเทศไทย รวมถึงยังต้องมีการสรุปบทเรียน และวิเคราะห์สาเหตุการณ์การสังหารหมู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต

ผู้ประสบภัยซึ่งติดอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าเริ่มแชร์เรื่องราวของพวกเขาบนโลกออนไลน์หลังจากเหตุการณ์สงบลง โดยเล่าว่าระหว่างที่ติดอยู่ในห้าง พวกเขาพยายามหาข้อมูลบนโซเซี่ยลมีเดียเกี่ยวกับเหตุร้าย แต่กลับรู้สึกสับสนและไม่แน่ใจว่าข่าวสารที่ได้รับมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

ห้างเทอร์มินอล 21 โคราช สถานที่เกิดเหตุ

สองวันถัดมา กองปราบได้ออกมาให้คำแนะนำประชาชนเรื่องการปฏิบัติตนเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤต หนึ่งในคำแนะนำคือให้ติดตาม “แอคเคาท์บนโซเชี่ยลมีเดียที่น่าเชื่อถือ” และขอความช่วยเหลือ

ผู้เขียนไม่เชื่อว่านี่คือวิธีการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก ผู้ประสบเหตุโดยปกติมักจะรู้สึกกระวนกระวายในในยามวิกฤติ และอาจรู้สึกกังวลเกินกว่าที่จะค้นหา “แอคเคาท์บนโซเชี่ยลมีเดียที่น่าเชื่อถือ” และประการที่สอง การอุปทานหมู่และข้อมูลปลอมสามารถทำให้เกิดกระแสไวรัลเนื่องจากการทำงานของอัลกอริทึมบนโซเชี่ยลมีเดีย อันนำไปสู่การแพร่ข้อมูลปลอมอย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่ถูกต้องและปกติอาจเป็นที่สังเกตได้ยากในกรณีนี้

ผู้เขียนมองว่า รัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบโดยการสร้างมาตราการสื่อสารในอนาคตเพื่อจัดการกับวิกฤติเช่นนี้

แนวทางซึ่งประสิทธิภาพมากกว่าสำหรับรัฐบาลหรือหน่วยงานด้านภาวะฉุกเฉินในการสื่อสารในสถานที่และเวลาที่ถูกต้องคือ กระบวนการ microtargeting บนโลกออนไลน์ หรือการสื่อสารแบบเจาะจงกลุ่มคนและสถานที่ที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบนโลกโซเชี่ยลมีเดียตามเวลาจริง โดยการซื้อโฆษณบนเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือกูเกิล

รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้นำกระบวนการนี้มาใช้เพื่อจัดการกับสื่อสารหลังจากที่ประชาชนหวาดผวาเรื่องโรคไวรัสโคโรนาเมื่อไม่นานมานี้

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในสหราชอาณาจักรจะเห็นวิดีโอคลิปอธิบายข้อเท็จจริงเรื่องไวรัสโคโรนาจากกรมระบบบริการสุขภาพสาธารณะ หรือ NHS ระหว่างที่เลื่อนดูฟีดข่าวบนแอคเคาท์ตัวเองบนทวิตเตอร์

สัญลักษณ์ “Promoted” ตรงมุมด้านล่างแสดงให้เห็นว่า นี่คือโพสต์ที่มีการซื้อโฆษณาต่างจากโพสต์อื่นๆ และมีความเป็นไปได้สูงว่า โพสต์นี้มีการยิงโฆษณาไปยังผู้รับสารในประเทศสหราชอาณาจักรเท่านั้น

นอกจากกรณีโรคไวัสโคโรนาแล้ว ประชาชนสหราชอาณาจักรยังมีความวิตกกังวลหลักเรื่องการเตรียมตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือจากช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านหนึ่งปี

Twitter ad ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรและ NHS

บนเฟสบุ๊ก รัฐบาลสหราชอาณาจักรยิงโฆษณาไปยังผู้รับสารหลากหลายกลุ่มซึ่งเป็นพลเมืองสหราชอาณาจักรที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆในสหภาพยุโรป ด้วยวิดีโอคลิปซึ่งปรับให้เหมาะสมกับข้อมูลของแต่ประเทศ

ในประเทศเนเธอแลนด์ โฆษณาของรัฐบาลแนะนำพลเมืองสหราชอาณาจักรในลงทะเบียนผู้อยู่อาศัย ในเยอรมัน พลเมืองสหราชอาณาจักรได้รับการแนะนำให้เดินทางไปสอบถามที่สำนักงานเขต และผู้ที่อาศัยในสเปนและอิตาลีได้รับคำแนะนำให้ตรวจสอบว่า พวกเขายังสามารถใช้ระบบบริการสุขภาพของที่นั้นได้หรือไม่

นอกจากจะสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นสิ่งที่การโพสต์บนโซเชี่ยลมีเดียแบบธรรมดาไม่สามารถทำได้ กระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการสื่อสารแบบดั้งเดิมทางทีวีหรือทางวิทยุอย่างมาก

ในประเทศไทย เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงแบบที่โคราช ทีมงานสื่อสารฉุกเฉินบนสื่อดิจิตอล สามารถตั้งแคมเปญแยกต่างหากเพื่อสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจงกับคนที่กำลังอยู่ในพื้นที่วิกฤติ

ตัวอย่างเช่น ยิงโฆษณาบอกคนที่อยู่ด้านในพื้นที่วิกฤติให้อยู่นิ่ง และคนที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ให้อยู่ห่างๆ ส่วนคนที่อยู่ในจังหวัดนั้นให้หลีกเลี่ยงพื้นที่วิกฤติ ซึ่งช่วยทำให้มีการประงานงานและใช้ทรัพยากรได้ดีขึ้น

กระบวนการ microtargeting บนโลกออนไลน์ หากนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและในทางบวกแล้วสามารถช่วยคลายความวิตกกังวลของประชาชน ลดจำนวนข่าวสารปลอม ส่งกระจายข้อเท็จจริงไปยังผู้รับสาร ทำให้การทำงานกู้ภัยลื่นไหล และนำไปสู่การช่วยชีวิตประชาชน

Facebook ad ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรสื่อสารต่อพลเมืองในเยอรมัน

Nanthida Rakwong
Co-founder & Chief Strategist
Worldacquire